#ตรวจ สุขภาพ

อ่านผลตรวจเลือดด้วยตนเอง 

โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

วันนี้ผมจะรวบยอดสอนการแปลผลการตรวจเคมีในเลือดให้ฟัง ท่านที่ถามมาคล้ายกันแต่ว่าผมไม่ได้ตอบก็ขอให้เอาวิธีแปลผลที่คุยกันวันนี้ไปแปลผลการตรวจของท่านเอาเองก็แล้วกัน

1. Blood chemistry แปลตรงๆว่าเคมีของเลือด หมายถึงระดับของสารต่างๆที่อยู่ในเลือดซึ่งก่อปฏิกิริยาเคมีได้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารเหล่านี้ บ่งบอกไปถึงว่าจะมีโรคอะไรเกิดขึ้นในร่างกายบ้าง

 2. FBS = ย่อมาจาก fasting blood sugar แปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังการอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เป็นการตรวจสถานะของโรคเบาหวานโดยตรง คือคนปกติค่านี้จะต่ำกว่า 100 mg/dL ถ้าของใครสูงเกิน 125 ก็ถือว่าเป็นเบาหวานแล้วอย่างบริบูรณ์

3. HbA1C = ย่อมาจาก hemoglobin A1C แปลว่าระน้ำตาลสะสมเฉลี่ยสามเดือนในเม็ดเลือดแดง มีความหมายคล้ายๆกับค่า FBS คือโดยคำนิยาม ถ้าน้ำตาลสะสมเฉลี่ยของของใครสูงกว่า 6.5% ก็ถือว่าเป็นโรคเบาหวานไปแล้วอย่างบริบูรณ์ ค่า HbA1C นี้ดีกว่าค่า FBS ในสองประเด็น คือ
3.1 ทำให้เราตรวจคัดกรองเบาหวานได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องอดอาหารมาล่วงหน้า
3.2 การที่มันสะท้อนค่าน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลาสามเดือนย้อนหลัง จึงตัดปัญหาระดับน้ำตาลวูบวาบในช่วงหนึ่งวันก่อนการตรวจ คือคนไข้บางคนที่จะทำตัวดีเฉพาะสองสามวันก่อนไปหาหมอเพื่อให้น้ำตาลในเลือดดูดี พอคล้อยหลังหมอตรวจเสร็จก็ออกมาสั่งไอติมมากินเป็นกะละมังให้หายอยาก คนไข้แบบนี้การตรวจ HbA1C จะทำให้ทราบสถานะที่แท้จริงของเบาหวานดีกว่า

4. BUN = ย่อมาจาก blood urea nitrogen แปลว่าไนโตรเจนในรูปของยูเรีย ตัวยูเรียนี้เป็นเศษของเหลือจากการเผาผลาญโปรตีนที่ตับ ซึ่งต้องถูกกำจัดทิ้งโดยไต การวัดระดับค่าของ BUN เป็นตัวบ่งบอกว่าเลือดไหลไปกรองที่ไตมากพอหรือไม่ ในภาวะที่เลือดไหลไปกรองที่ไตน้อยลง เช่นในภาวะร่างกายขาดน้ำ หรือสูญเสียเลือดไปทางอื่นเช่นเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือในภาวะช็อก ระดับของ BUN จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค่าปกติของ BUN คือ 8-24 

5. Cr = เขียนเต็มว่า Creatinine แปลว่าเศษเหลือจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ คือกล้ามเนื้อของคนเรานี้มันสลายตัวและสร้างใหม่อยู่ตลอดเวลา คนมีกล้ามมากก็สลายตัวมากสร้างมาก Cr ซึ่งเป็นเศษซากที่สลายตัวออกมาจะถูกไตขับทิ้งไป แต่ในกรณีที่ไตเสียการทำงาน เช่นเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตจะขับ Cr ออกทิ้งไม่ทันกับที่กล้ามเนื้อสลายออกมา ทำให้ระดับ Cr ในเลือดสูงผิดปกติ ค่าปกติของมันคือ 0.7-1.2 mg/dL 

 6. Uric acid ก็คือกรดยูริกที่เป็นต้นเหตุของโรคเก้าท์นั่นแหละ ค่าปกติของกรดยูริกในเลือดคือ 3.4-7.0 

7. Triglyceride คือไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคชนิดหนึ่งในร่างกายเรา ระดับที่สูงจนต้องใช้ยาคือเกิน 200 mg/dl 

8. HDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าเอ็ช.ดี.แอล. เรียกอีกอย่างว่า “ไขมันดี” เพราะมันเป็นไขมันที่ดึงไขมันที่พอกหลอดเลือดออกไปจากหลอดเลือด ดังนั้นยิ่งมีเอ็ช.ดี.แอล.มากก็ยิ่งดี คนปกติควรมีเอ็ชดีแอล.เกิน 40 mg/dl ขึ้นไป 

9. LDL-cholesterol เรียกสั้นๆว่าแอลดีแอล. หรือเรียกอีกอย่างว่า “ไขมันเลว” เพราะมันเป็นตัวไขมันที่พอกอยู่ที่ผนังหลอดเลือดและเป็นไขมันก่อโรคโดยตรง การจะตัดสินว่าคนไข้คนไหนควรกินยาลดไขมันเมื่อไหร่ก็ตัดสินกันจากระดับแอลดีแอล.นี่แหละ โดยเทียบกับความเสี่ยงในการเป็นโรคที่แต่ละคนมีเป็นทุนอยู่แล้ว กล่าวคือ
– ถ้ามีความเสี่ยงต่ำ จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 160
– ถ้ามีความเสี่ยงปานกลาง จะให้เริ่มทานยาลดไขมัน
เมื่อ LDL มากกว่า 130
– ถ้ามีความเสี่ยงสูง หรือเป็นโรคหัวใจ หรือเบาหวาน หรืออัมพาตแล้ว จะให้เริ่มทานยาลดไขมันเมื่อ LDL มากกว่า 100   

10. Total Cholesterol หมายถึงโคเลสเตอรอลรวมในร่างกาย เป็นค่ารวมของไขมันสามอย่าง กล่าวคือ    
โคเลสเตอรอลรวม = ไขมันดี (HDL) + ไขมันเลว (LDL) + หนึ่งในห้าของไขมันไตรกลีเซอไรด์ สมัยก่อนเราใช้ค่าโคเลสเตอรอลรวมตัวนี้ตัวเดียวในการประเมินไขมันในเลือด จึงได้กำหนดค่าปกติไว้ว่าถ้าสูงเกิน 240 mg/dl จึงจะถือว่าสูงและเริ่มใช้ยา 
แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยจะดูค่าโคเลสเตอรอลรวมกันเท่าไหร่แล้ว เราดูเจาะลึกลงไปถึงไขมันแต่ละชนิด และตัดสินใจใช้หรือไม่ใช้ยาจากระดับไขมันเลว (LDL) โดยไม่สนใจโคเลสเตอรอลรวมแล้ว เพราะค่านี้มักชักนำให้เข้าใจผิด ยกตัวอย่างเช่นถ้าดูค่าโคเลสเตอรอลรวมได้ 214 ซึ่งก็แค่สูงเกินพอดีไปบ้างแต่ไม่สูงถึงกับต้องใช้ยา แต่ว่าจริงๆแล้วเป็นความเข้าใจผิด เพราะค่าโคเลสเตอรอลรวมดูต่ำอยู่ได้เพราะมีไขมันดี (HDL) ต่ำกว่าปกติ เลยพลอยทำให้ค่าโคเลสเตอรอลรวมต่ำไปด้วย ทั้งๆที่เป็นคนมีไขมันเลวอยู่ในระดับสูงถึงขั้นต้องใช้ยาแล้ว 

11. AST(SGOT) = ย่อมาจาก aspartate transaminase หรือชื่อเก่าว่า serum glutamic oxaloacetic transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่ปกติอยู่ในเซลของตับ ซึ่งจะไม่ออกมาในเลือด หากมีเอ็นไซม์ตัวนี้ออกมาในเลือดมากก็แสดงว่าเซลตับกำลังได้รับความเสียหาย เช่นอาจจะมีตับอักเสบจากการติดเชื้อหรือจากสารพิษ หรือแม้กระทั้งจากแอลกอฮอล์ และไขมันแทรกเนื้อตับ ค่าปกติของ AST คือไม่เกิน 40 IU/L 
12. GTT = ย่อมาจาก gamma glytamyl transpeptidase เป็นเอ็นไซม์ในเซลตับและทางเดินน้ำดีเช่นเดียวกับ ALT มีความไวต่อความเสียหายของเซลตับมากกว่า แต่ขาดความจำเพาะเจาะจง หมายความว่าเมื่อ GTT สูงจะเกิดจากอะไรก็ได้ที่อาจจะไม่ใช่เรื่องของตับ เช่นอาจมีปัญหาที่ตับอ่อน ที่หัวใจ ที่ปอด หรือแม้กระทั่งเป็นเบาหวาน อ้วน หรือดื่มแอลกอฮอล์ ก็ทำให้ GTT สูงได้ สารตัวนี้จึงไม่มีประโยชน์ในการคัดกรองโรคเลย 

13. ALT (SGPT) = ย่อมาจาก alamine amintransferase หรือชื่อเก่าว่า serum glutamic pyruvic transaminase เป็นเอ็นไซม์ที่ปกติอยู่ในเซลของตับเช่นเดียวกับ AST และจะออกมาในเลือดเมื่อเซลตับได้รับความเสียหายเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีเนื้องอกอุดตันทางเดินน้ำดี ค่าปกติของ ALT คือไม่เกิน 34 IU/L 

14. Alkaline Phosphatase = เป็นเอ็นไซม์ที่อยู่ในเซลของตับ ทางเดินน้ำดี และของกระดูกเป็นส่วนใหญ่ ความหมายของเอ็นไซม์ตัวนี้หากมันสูงขึ้นคืออาจจะมีปัญหาที่ทางเดินน้ำดี ตับ หรือกระดูก ค่าปกติในผู้ชายผู้ใหญ่ไม่เกิน 128 U/L

15. HBs Ag = ย่อมาจาก hepatitis B surface antigen แปลว่าตัวไวรัสตับอักเสบบี.ซึ่งตรวจจากโมเลกุลที่ผิวของมัน ถ้าตรวจได้ผลบวกก็แปลว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี.อยู่ในตัว หากตรวจได้ผลลบ ก็แปลว่าไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี

16. Anti HBs = ย่อมาจาก antibody to hepatitis B surface antigen แปลว่าภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี. หากตรวจได้ผลบวกก็แปลว่าคุณมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสบี.แล้ว ไม่ต้องไปแสวงหาการฉีดวัคซีน

17. eGFR = เรียกสั้นๆว่า จีเอฟอาร์. ย่อมาจาก estimated glomerular filtration rate แปลว่าอัตราการไหลของเลือดผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที ค่านี้ได้จากการคำนวณเอาจาก Cr กับอายุ และชาติพันธุ์ของเจ้าตัว ห้องแล็บที่ยังไม่ทันสมัยจะไม่รายงานค่านี้ ถ้าเจ้าตัวอยากทราบค่านี้ต้องเอาค่า Cr ที่ได้ไปอาศัย GFR calculator ตามเว็บในเน็ทคำนวณให้ ค่าจีเอฟอาร์.นี้มีประโยชน์มากในแง่ที่ใช้แบ่งระดับความรุนแรงของคนที่ Cr ผิดปกติอย่างคุณนี้ว่ามีความรุนแรงเป็นโรคไตเรื้อรังระยะไหนของ 5 ระยะ กล่าวคือ 
ระยะที่ 1 ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว แต่ไตยังทำงานปกติ (จีเอฟอาร์ 90 มล./นาที ขึ้นไป) 
ระยะที่ 2 ตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตแล้ว และไตเริ่มทำงานผิดปกติเล็กน้อย (จีเอฟอาร์ 60-89 มล./นาที)
ระยะที่ 3 ไตทำงานผิดปกติปานกลาง ไม่ว่าจะตรวจพบพยาธิสภาพที่ไตหรือไม่ก็ตาม (จีเอฟอาร์ 30-59 มล./นาที)
ระยะที่ 4 ไตทำงานผิดปกติมาก (จีเอฟอาร์ 15-29 มล./นาที)
ระยะที่ 5. ระยะสุดท้าย (จีเอฟอาร์ต่ำกว่า 15 หรือต้องล้างไต)  

 น้ำมันรวม4ชนิด G dyna 
ปราศจากสารเคมี เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย 
ช่วยให้บำรุงร่างกายทั้งระบบให้ดีขึ้น เห็นผลภายใน 1-2 เดือน 
เห็นผลทุกcase 100% ค่ะ


สนใจสอบถาม

                               Website :  www.4sahai.com
                             
คลิกเพิ่มเพื่อนไลน์อัตโนมัติ http://line.me/ti/p/~gdyna.com

โทร 087-041-0088, 089-896-1010